วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

อยากประสปความสำเร็จใหม?

บทความนี้ตั้งใจเขียนไว้อยากให้หลาย ๆ คนได้อ่านกันนะ ^-^



"บางคนที่มองตัวเองบ่อย ๆ ว่าทำอะไรไม่เคยสำเร็จสักที"

"ทำไมมองคนโน้นคนนี้ เขาถึงกล้าพูดได้เต็มปากกันว่าประสปความสำเร็จแล้ว"

"จุดไหนคือสิ่งที่เรียกว่าประสปความสำเร็จ? กัน...."


ที่ยกมานั่น เป็นเพียงประโยคสั้น ๆ ที่หลาย ๆ คนมักผุดขึ้นมาในใจยามที่ทำอะไรแล้วรู้สึกว่าตัวเอง ทำไม่สำเร็จสักที เลยต้องตั้งประโยคขึ้นมาในใจ เพื่อเป็นเงื่อนไขสำหรับเปรียบเทียบว่า ตนเองในขณะนั้น ได้ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ลุล่วง หรือมาจนถึงจุดไหนแล้ว  ซึ่งส่วนมากหลาย ๆ คน มักเอาที่มาของ แรงบรรดาลใจในการทำงาน หรือสิ่งที่ทำให้จำต้องทำหน้าที่นั้นให้ลุล่วงมาเป็นบรรทัดฐานของความสำเร็จ ซึ่งส่วนมากจะไม่มีใครจะได้พานพบกับเส้นชัยที่เรียกว่าความสำเร็จที่ว่านั่นเลย


เริ่มต้นง่าย ๆ ... ด้วยการตั้งเป้าหมาย
หลาย ๆ คนที่ไม่เคยพบกับความสำเร็จในชีวิต เป็นเพราะ การมีเป้าหมายที่ ไม่แน่นอน หรือการมีเป้าหมายที่สูงเกินไป ซึ่งตัวเป้าหมายนั้น ควรกำหนดให้เป็นระดับ ๆ ยกตัวอย่างเช่น หลาย ๆ คนที่อยากมีตังค์ใช้ จนระดับที่ว่าประสปความสำเร็จในชีวิต

ยกตัวอย่าง
 นาย ก. อายุ 22 ปีเป็นนักศึกษาจบใหม่ ไปร่วมฟังนโยบายของบริษัทขายตรง บ.นึงแล้วถูกพูดกรอกหูมาว่า "น้องคนนั้นเนี่ย อายุ 19 ปีก็มีเงินเป็นแสน ๆ ต่อเดือนแล้ว ทำอาชีพอื่นก็เป็นไปได้ยากที่จะประสพความสำเร็จได้ขนาดนี้"
เมื่อนาย ก. ได้ยินดังนั้น นาย ก. จึงพยายามทำทุกวิธีทางเพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่าตัวเองจะต้องประสพความสำเร็จในชีวิตแบบ น้องคนนั้นบ้าง..

..แต่มีคำถามว่า?
........เมื่อไรล่ะ ที่นายก.จะประสปความสำเร็จ ในขั้นนั้น ในขณะที่ปัจจุบันเป็นคนว่างงานอยู่....?

หลาย ๆ คนเริ่มมีคำตอบในใจแล้วว่า "ก็ตอนที่ทำให้มีรายได้ต่อเดือนเป็นแสนเหมือนเด็กคนนั้นไง"
ถ้าลองพิจารณาดูจริง ๆ แล้วก็อาจพบปัญหาถัดมาว่า  มันเกิดความต่างระหว่าง นายก. และเด็กคนนั้นเรื่องอายุ และฐานะ รวมไปถึงอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง

.... เมื่อคิดไปคิดมาเรื่อย ๆ ก็จะเกิดคำถามต่อมาที่ว่า "นาย ก. ควรจะต้องมีรายได้ที่แตกต่างสิ หรือมีอะไรที่ต่างกันออกไป เพราะพิจารณาจากหลาย ๆ อย่างที่ไม่ได้มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน"
....แล้วนาย ก. ควรจะทำยังไงดี ในเมื่อเริ่มก็ดูท่า ทีว่า ระดับความสำหรับที่ตั้งไว้แต่แรกนั้นพังทลายแล้วด้วยเหตุผลง่าย ๆ


คำตอบก็คือ...


"การสร้างเป้าหมาย และปณิธานให้ตัวเอง"

หลายคนที่อ่านอาจจะงงว่ามันต่างจากความคิดของนาย ก. ยังไงในเรื่องของการสร้างเป้าหมาย ในเมื่อ นาย ก. ก็มีเป้าหมายอยู่แล้วนี่ ( แต่ดูท่าทางมันจะเป็นไปไม่ได้ )

       แต่ก็พูดได้ว่าสิ่งสำคัญแรกที่นาย ก. ทำนั้น... เรียกได้ว่าถูกต้องแล้ว แต่เหนือกว่านั้นนาย ก. ไม่ได้ประเมิณสิ่งแวดล้อม และสถาณการณ์ต่าง ๆ ในความที่จะเป็นไปได้ของตัวเอง เนื่องจาก การสร้างเป้าหมาย ต้องสร้างจากพื้นฐานของความเป็นไปได้  เพราะหากไม่ได้สร้างมาจากพื้นฐานของความเป็นไปได้แล้วเป้าหมายที่ตั้งนั้นก็เป็นได้แค่ "ฝันลม ๆ แล้ง ๆ"


ทีนี้... เมื่อนาย ก. ได้ลอง "มีเป้าหมาย อย่างถูกวิธีแล้ว" ทีเหลือนาย ก. ก็แค่ดำเนินการให้มันเป็นไปได้ แต่หากถามว่า เป้าหมายที่นาย ก. ตั้งนั้น ควรมีกี่เรื่องดี? คำตอบก็จะขึ้นอยู่กับสภาวะและสถาณภาพของนาย ก. ในปัจจุบันเอง โดยในจุดนี้ สมมติว่านาย ก. ตั้งใจที่จะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น  เพราะฉะนั้นสาระในการตั้งเป้าหมายของนาย ก. ก็จะต้องเกี่ยวพันกับการจับจ่ายเงิน ด้วยเหตุนี้นาย ก. จึงต้อง LIST ( ทำรายการ ) ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาณภาพของการเงินในปัจจุ เช่น

สถาณภาพและสภาวะปัจจุบันของ นาย ก.
- มีรายได้วันละ 300 บาท
- เสียค่ากินวันละ 120 บาท
- เสียค่าเดินทาง 100


เป้าหมายของนาย ก. ที่ตั้งไว้
- มีรายได้วันละ 500 บาท  หรือ มีรายได้วันละ 500 ภายใน 10 วัน

- เสียค่ากินวันละ 100 บาท
- เสียค่าเดินทาง 80


หลังจากมี list เป้าหมายแล้ว แค่นี้ นาย ก. ก็เริ่มเห็นความสำเร็จที่จับต้องได้แล้ว!!!


หมายเหตุ*          เนื่องจากคนเรามักยึดติดกับสิ่งที่เห็นได้ มากกว่าการจินตนาการ เพราะฉะนั้นการทำอะไรแล้วอยากให้เกิดความรู้สึกว่า "สำเร็จ" หรือ "ผ่านด่าน" ไปได้ก็ควรทำเป็น list ใส่กระดาษหรือใช้อะไรจดไว้ก็ได้ โดยเมื่อไรที่ ทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน list สำเร็จ ก็ให้ ทำ mask ( เครื่องหมายลงไป ) เพราะการทำแบบนี้จะเป็นสิ่งย้ำเตื่อนจิตใจและช่วยสร้างสุขภาพจิตที่ดีด้วย
( การทำสมุดรายรับรายจ่ายก็เช่นกัน มันไม่ใช่การคำนวณแค่นั้น แต่มันก็เป็นการบ่งบอกถึงความสำเร็จของผู้ทำด้วย )



...เมื่อนาย ก. ได้ดำเนินขั้นตอนมาถึงตรงนี้ก็พอจะพูดได้ว่า ที่เหลือก็แค่ทำให้มันสำเร็จตาม รายการที่ตั้งไว้เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องของการที่อยากมีรายได้ต่อเดือนเป็นแสน ๆ เรื่องนี้ เมื่อมองว่าไม่สามารถเอาไปเทียบกับเด็กคนนั้นได้ จึงต้องใช้หลักการที่ว่า "เป้าหมายที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ แต่ยากเกินจะเป็นไปได้ ให้ตั้งไว้เป็น ปณิธาน" เพราะ ปณิธาน คือสิ่งที่คนเรา อยากให้เป็นไป และเมื่อทำได้ ส่วนมากจะพบกับความสุขที่เรียกได้ว่าเกือบที่สุดของชีวิต...



                    "เป้าหมาย กับ ความสำเร็จ ที่ไม่มีวันสิ้นสุด"


หลายคนอ่านแล้วอาจงงทำไมเขียนแบบนี้ นั้นก็เพราะว่า โดยพื้นฐานแ้ล้ว มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีวันเพียงพอ  จึงทำให้เกิดความต้องการเรื่อย ๆ  และเมื่อเกิดความต้องการแล้ว สมองก็จะกลั่นกรองความสมเหตุสมผล ออกมาว่าควรเลือกทำสิ่งใด จากนันเป้าหมายจึงบังเกิด   เมื่อพอเข้าใจจุดนี้แล้วจึงขอกลับไปที่เรื่องของ นาย ก. ต่อ ( เพราะที่เล่ามา นาย ก. ยังไม่รวย )

ถัดมาหลังจากนาย ก. ได้ทำตาม list ที่ได้ตั้งไว้จนหมดแล้ว ถามว่า นาย ก. พึงพอใจกับจุดนั้นใหม?
คำตอบคือ "ไม่" เพราะว่านาย ก. อยากเป็นเศรษฐี มีรายได้เป็นแสน ๆ
 นาย ก. จึงตั้งคำถามว่า
    "มาถึงจุดนี้แล้วควรทำอย่างไรต่อไป ในเมื่อสิ่งที่มีอยู่มันยังไม่เพียงพอกับความต้องการ"
คำตอบ ที่ดีที่สุด ที่นาย ก. ทำได้ตอนนี้ก็คือ  "ตั้งเป้าหมายใหม่"


เป้าหมาย(ปัจจุบัน ) ซึ่งเป็นสถาณภาพปัจจุบันของนาย ก.
- มีรายได้วันละ 500 บาท  หรือ มีรายได้วันละ 500 ภายใน 10 วัน

เป้าหมายใหม่
- มีรายได้วันละ 1,500



** จุดนี้บางคนอาจงงว่า เอ๊ะนาย ก. เอาอะไรเป็น บรรทัดฐานในการคำนวณว่า ความเป็นไปได้ของเม็ดเงินที่จะหารายวันได้ มันควรอยู่ที่เท่าไร  เรื่องนี้ผู้้เขียนขออธิบายหลักคิดนี้ง่าย ๆ ว่า เอาความ เป็นจริงของปัจจุบัน คูณ สองหรือ สาม

หลักการคิด
การคิดแบบนี้เป็นหลักการง่าย ๆ ของการเพิ่มจำนวน และความเป็นไปได้ ทั้งนี้ การx2 ( คูณลำดับที่ 2 ) จะเห็นผลได้ชัดเมื่อใช้กับการเพิ่มจำนวน  ส่วน การ x3 (คูณลำดับที่3 ) นั้น จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำ


เช่น


ปัจจุบันนาย ก.ขาย ลูกชิ้นปิ้ง ช่วง 11.00-17.00น. เป็นเวลา 6 ชม. ได้กำไรวันละ 500
ถ้านายก. เพิ่มเวลาx2(อีก 6 ชม. ) เริ่มเป็นขายตอน  6.00-18.00  ก็มีสิทธ์ได้กำไรx2 คือ 500x2
แต่ด้วยประสปการณ์ที่ขายมา นายก. พบว่า การขายมีจุดเวลาขายดี และช่องทางในการขายเยอะโดยการนำลูกชิ้นที่กำลังฮิตมาขาย และเพิ่มจำนวนการปิ้งรองรับ ความต้องการในการซื้อ   
โดยการทำแบบนี้นาย ก. ก็มีความเป็นไปได้ที่จะ เพิ่มกำไร เป็น (กำไรปัจจุบัน 500 ) x3 หรือราว ๆ นั้น 



มาถึงตอนนี้ก็ขอ พอ เรื่องของ นาย ก. ไว้เท่านี้ดีกว่า เพราะจริง ๆ แล้วช่องทางในการประสปควาสำเร็จของนาย ก. ยังมีอีกมากมาย เหลือแต่ก็เพียงพัฒนา การค้าขาย และทำตาม ปณิธานว่า "ต้องมีรายได้ต่อเดือน เป็นแสน ๆ" ให้ได้ก็พอ




สรุปแล้วนะ
หลังจากที่อ่านเรื่องนาย ก. ที่ยกตัวอย่างมาก็อาจจะเข้าใจเนื้อหาของความสำเร็จกันบ้างแล้วว่า มันไม่ได้ไกลเกินเอื้อม แต่บางคน กลัวคำ ๆ นี้ เนื่องด้วยสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่เคยเจอมา เลยทำให้มองว่าสิ่งทีำ่ทำอยู่มันง่ายเกินจะเรียกว่าความสำเร็จ แต่หลาย ๆ คนอาจไม่สังเกตุเลยว่าเรื่องของ "ความสำเร็จ"  มักถูกใช้ในเรื่องของการเปรียบเทียบ  เช่น เวลาฟังบ.ขายตรง ส่วนมากพูดก็มักยกคำ ๆ นี้มาพูดเรื่อย ๆ เพื่อให้อีกฝ่ายดูแย่ และพัฒนาตัวเองให้ไปอยู่ในระดับเดียวกัน

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากรู้ว่า ปัจจุบันคุณประสปความสำเร็จแค่ไหนแล้ว ก็ลองเอาตัวเองไปเทียบ กับคนที่แย่ ๆ กว่าคุณสิ   แล้วจะพบว่า ตัวเองนี่ ประสปความสำเร็จขนาดไหน

ท้ายนี้ผู้เขียนขอสรุปข้อดีอย่างหนึ่งในเรื่องของการ "ประสปความสำเร็จ" ว่า 
ส่วนมากมักจะถูกนำมาใช้ในการหาผลประโยชน์จากการเปรียบเทียบเท่านั้นเอง


( เช่นดังเห็นได้จากกรณีที่ คนวาดรูปเก่ง ๆ เปิดคอร์สสอนวาดรูปให้คนวาดรูปไม่เป็นมาเรียนวาด เพื่อให้ประสปความสำเร็จในเรื่องวาดรูปได้ตามนั้นบ้างและเป็นที่พึงพอใจของผู้เรียนและคนรอบข้างเอง )


*เขียนรอบแรกเมื่อ 14/1/2012
เขียนต่อเมื่อ 17/2/2012





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น